“Thailand Smart Living” เชื่อมระบบแพทย์ฉุกเฉินเพื่อก้าวสู่เมืองอัจริยะMarTech Thailand - Marketing TechnologySmart City PlatformSmart LivingSmart News ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยของเรานั้นมีจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังมีจำนวนผู้พิการ และผู้ป่วยติดเตียงที่เป็นประชากรกลุ่มเปราะบางเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก…. ด้วยเหตุดังกล่าวนี้เอง จึงทำให้ประเทศไทยเราจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนานวัตกรรมเพื่อเตรียมการรับมือด้านความปลอดภัยของผู้คนกลุ่มเหล่านี้มากยิ่งขึ้น สู่การจัดงานประชุมวิชาการภาคประชาชนครั้งที่ 2 ภายใต้หัวข้อ “ยุทธศาสตร์ตำบลปลอดภัย หัวใจการแพทย์ฉุกเฉิน” จัดขึ้นโดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ซึ่งได้มีการนำเสนอพูดคุยถึงนวัตกรรรมที่เกี่ยวกับระบบการแพทย์ฉุกเฉิน มีเป้าหมายในการใช้ลดอัตราของการบาดเจ็บและเสียชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือผู้สูงอายุและประชากรกลุ่มเปราะบางรูปแบบต่างๆ . ประเทศไทยเตรียมพัฒนาสู่นวัตกรรม “Thailand Smart Living” “Thailand Smart Living” คือหนึ่งในนวัตกรรมที่ รศ.วิรุฬห์ ศรีบริรักษ์ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา หัวหน้าโครงการและผู้คิดค้นขึ้นมา เพื่อรองรับสังคมสูงวัยในอนาคตอันใกล้ รวมถึงดูแลผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ทั้งผู้ป่วยติดเตียง คนพิการ รวมถึงประชากรกลุ่มเปราะบางที่มีสูงขึ้น รูปแบบนวัตกรรมของระบบ “Thailand Smart Living” จะเน้นเรื่องสร้างระบบการดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ และประชากรกลุ่มเปราะบางในเมืองหรือในชุมชนที่ไม่สามารถพึ่งพิงตนเองได้ ผ่านรูปแบบการทำงานแบบ ‘Smart Public Healthcare’ โดยมีฟังก์ชั่นการใช้งานหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น มีระบบติดตามและแจ้งเตือนผ่านสายรัดข้อมืออัจฉริยะที่คอยเก็บข้อมูลและรายงานกิจวัตรประจำวัน มีอุปกรณ์ในสายรัดข้อมืออัจฉริยะที่จะเรียนรู้รูปแบบการเคลื่อนไหวของผู้ใช้งานแต่ละบุคคล มีการตรวจนับการออกนอกพื้นที่พักอาศัยเพื่อป้องกันการพลัดหลง มีการแจ้งเตือนเมื่อเกิดอุบัติเหตุหกล้มหรือต้องการขอความช่วยเหลือฉุกเฉินและสามารถส่งการแจ้งเตือนไปยังครอบครัวหรือผู้ดูแลเพื่อให้ความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที นอกจากนี้ ผู้ใช้งานยังสามารถใช้เป็นโทรศัพท์ฉุกเฉินเพื่อติดต่อกับหน่วยงานที่ดูแลผู้ใช้บริการ ให้สามารถรับข้อมูลจากอุปกรณ์รัดสายข้อมือติดตามกิจกรรมและปุ่มขอความช่วยเหลือได้อีกด้วย . เรียกได้ว่า นวัตกรรมชิ้นนี้จะตอบโจทย์และรองรับสังคมผู้สูงอายุที่กำลังใกล้เข้ามาในประเทศไทย รวมถึงจะเป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่จะสามารถสร้างประโยชน์ให้ทั้งประชาชนและทางการแพทย์ได้อย่างมากในอีกไม่นานอย่างแน่นอนค่ะ . .ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก : siamrath.co.th, www.banmuang.co.th, www.thailandplus.tv และ www.bangkokbanksme.com